eaeasy.co.th

รถเข็นสินค้าของคุณ




ยังไม่มีสินค้าในรถเข็นของคุณ

   

You are here: Home สาระ การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น
Decrease font size  Default font size  Increase font size 
ตู้เย็น PDF พิมพ์ อีเมล

 

 

คู่มือการซื้อและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน : ตู้เย็นสำหรับใช้ในบ้าน


ตู้เย็นสำหรับใช้ในบ้าน

เมื่อเวลาที่เราทำงานหนักจนเหงื่อออกหรือเมื่อถูกสาดน้ำ หากได้นั่งพักสักครู่จะรู้สึกเย็นขึ้น ทั้งนี้เพราะน้ำที่ระเหยจากเสื้อจะพาความร้อนส่วนหนึ่งออกจากร่างกายไปด้วย หลักการพาความร้อน เช่นนี้  เรานำมาใช้เป็นหลักการทำความเย็นของเครื่องทำความเย็นทั้งหลายรวมทั้งตู้เย็นด้วย

ตู้เย็นสำหรับใช้ในบ้านตามมาตรฐาน
ตู้เย็นมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนคือ อีแวพอเรเตอร์ (evaporator) เครื่องควบแน่น (condenser) ตัวลดความดัน (pressure reducer) และเครื่องอัดสารทำความเย็น (compressor) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ช่วยชี้ว่าตู้เย็นเครื่องใดมีคุณภาพดีกว่ากัน
ตู้เย็นตามมาตรฐานขณะที่ตู้เย็นทำงาน ต้องไม่เกิดเสียงหรือสั่นสะเทือนมากเกินไป มีความปลอดภัยทางไฟฟ้า มีความสามารถทำน้ำแข็งตามเกณฑ์กำหนด เป็นต้น

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อ
การเลือกซื้อตู้เย็น ควรสังเกตว่าต้องมีตัวเลขอักษรหรือเครื่องหมายระบุรายละเอียด ที่มองเห็นได้ง่าย ชัดเจนและไม่ลบเลือนหรือหลุดได้ง่าย เช่น
1.   ชื่อผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้า
2.   ประเภทของตู้เย็น
3.   ปริมาตรภายในที่กำหนด
4.   รหัสรุ่น
5.   วงจรไฟฟ้า
นอกจากนี้ ตู้เย็นทุกตู้ต้องมีคู่มือแนะนำวิธีใช้และการบำรุงรักษา   ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อแนะนำ  เกี่ยวกับวิธีติดตั้ง วิธีใช้

วิธีใช้อุปกรณ์ควบคุมต่างๆ และการบำรุงรักษา รวมทั้งการทำความสะอาดตู้เย็น

การเลือกซื้อตู้เย็นนอกจากจะดูรายละเอียดต่างๆ ข้างต้นแล้วควรสังเกตเพิ่มเติมในเรื่องของฉลากประหยัดไฟฟ้าด้วย เพราะปัจจุบันนี้ได้มีการติดฉลากที่ตู้เย็น เพื่อแสดงว่าตู้เย็นใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าใด ค่าไฟฟ้าต่อปีเท่าใด และประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อตู้เย็นที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น สำหรับระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตู้เย็น จะแบ่งเป็นตัวเลข 5 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ต่ำ
ระดับที่ 2 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ พอใช้
ระดับที่ 3 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ปานกลาง
ระดับที่ 4 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ดี
ระดับที่ 5 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ดีมาก


ซึ่งบนฉลากจะแสดงระดับประสิทธิภาพเป็นตัวเลขและบอกความหมาย โดยมีตัวเลขแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหน่วยต่อปี และค่าไฟฟ้าเป็นบาทต่อปีพร้อมระบุยี่ห้อ และรุ่นของตู้เย็นประกอบด้วยอย่างชัดเจน ดังนั้น เมื่อเลือกซื้อตู้เย็นควรดูฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย ยิ่งตัวเลขสูงแสดงว่ายิ่งประหยัดไฟ

ข้อแนะนำการใช้และการบำรุงรักษาที่สำคัญ
  1. เลือกซื้อตู้เย็นที่มีขนาดความจุเหมาะสมกับความจำเป็นในการใช้งาน และควรตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและจำนวนของอาหาร เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
  2. ควรตั้งตู้เย็นให้มีอากาศถ่ายเทได้ดีพอสมควร โดยอยู่ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร และห่างจากเพดานอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
  3. ไม่ควรเปิดปิดประตูบ่อยๆ เพราะความร้อนและความชื้นจากอากาศภายนอก จะทำให้ตู้เย็นทำงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เปลืองไฟ
  4. ไม่ควรนำอาหารเข้าเก็บขณะที่ยังร้อนหรืออุ่นอยู่ ควรจะรอให้ความร้อนในอาหารลดลงจนเท่ากับระดับอุณหภูมิภายในห้องก่อนจึงนำเข้าเก็บได้
  5. ไม่ควรตั้งภาชนะที่เก็บอาหารไว้ชิดกัน หรือติดกับผนังตู้เพราะอากาศจะไม่สามารถผ่านรอบๆ ภาชนะได้
  6. หากเป็นตู้เย็นที่ไม่มีกลไกขจัดน้ำแข็งอัตโนมัติ ควรขจัดน้ำแข็งที่เกาะภายในตู้เย็นบ่อยๆ ถ้าเป็นฤดูร้อน ประมาณ 2 ครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์
  7. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ประกอบภายในตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ ก่อนทำความสะอาดตู้เย็นให้ถอดปลั๊กออกก่อนทุกครั้ง ห้ามใช้เบนซิน ทินเนอร์หรือแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดตู้เย็น
  8. ภายนอก ภายในตู้เย็น ควรใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่เช็ดและเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำที่สะอาดแล้วตามด้วยผ้า แห้ง ควรทำความสะอาดตู้เย็นอย่างน้อยเดือนละครั้ง
  9. ยางขอบประตู ซึ่งมีความชื้น และฝุ่นละอองจับเกาะ ทำให้เกิดจุดด่างดำ ควรทำความสะอาดบ่อยๆ โดยใช้แปรงอ่อนๆ จุ่มน้ำสบู่ถูเบาๆ ล้างด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง

บทความจาก TISI